ประวัติทัชมาฮาล

ประวัติ
ทัชมาฮาล สุสานหินอ่อนที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลก ถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์อินเดียผู้มีรักมั่นคงต่อพระมเหสีของพระองค์ เจ้าชายขุร์รัม ชึ่งต่อมาคือจักรพรรดิชาห์ ชหาน พระราชสมภพในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) พระบิดา คือ จักรพรรดิ ชาห์ ชหานชีร์ จักรพรรดิองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์โมกุล แห่งอินเดีย ตามตำนานกล่าวว่า เจ้าชายขุร์รัม ได้พบกับ อรชุมันท์ พานุ เพคุม ธิดาของรัฐมนตรี เมื่อพระองค์ มีพระชนมายุ 14 พรรษา พระองค์ทรงหลงใหลและหลงรักนาง เจ้าชายขุร์รัมจึงซื้อเพชรด้วยเงิน 10,000 รูปีและบอกแก่พระบิดาของพระองค์ว่าพระองค์มีความประสงค์ที่จะแต่งงานกับบุตร สาวของรัฐมนตรี พิธีอภิเษกถูกจัดขึ้นหลังจากนั้น 5 ปี ในปี พ.ศ. 2155 (ค.ศ. 1612) จากนั้นมาทั้งสองก็มิเคยอยู่ห่างกันอีกเลย
หลังจากที่พระเจ้าชาห์ ชหาน ขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2171 พระองค์มอบความไว้วางใจแก่ อรชุมันท์ พานุ เพคุม และเรียกนางว่า มุมตัซ มาฮาล “อัญมณีแห่งราชวัง” พระมเหสีติดตามพระองค์ แม้แต่ในสนามรบ แนะนำพระองค์ในเรื่องราชการของประเทศ และพระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระมเหสียิ่งนัก ครั้นในปี พ.ศ. 2174 (ค.ศ. 1631) พระมเหสีมุมตัซสิ้นพระชนม์ หลังจากให้กำเนิดทายาทองค์ที่ 14 การสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีทำให้พระเจ้าชาห์ ชหานโศกเศร้าอยู่ถึงสองทศวรรษ ราชสมบัติส่วนใหญ่สูญเสียไปเพื่อการสร้างอนุสรณ์แห่งความรักของทั้งสองพระองค์ในปี พ.ศ. 2200 (ค.ศ. 1657) พระเจ้าชาห์ ชหานทรงพระประชวร และในปี พ.ศ. 2201 (ค.ศ. 1658) พระโอรส โอรังเซบ จับพระเจ้าชาห์ ชหานขัง และขึ้นครองราชบัลลังก์แทน พระองค์ถูกกักขังอยู่ถึง 8 ปี จนกระทั่งสวรรคตในปี พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1666) ตามตำนานกล่าวว่าให้วันสุดท้ายของชีวิตพระองค์ใช้เวลาทั้งวันในการจ้องมอง เศษกระจกที่สะท้อนภาพของทัชมาฮาล และสิ้นพระชนม์ด้วยเศษกระจกในกำมือ พระเจ้าชาห์ ชหานถูกฝังในทัชมาฮาล เคียงข้างมเหสีซึ่งพระองค์ไม่เคยลืม มีบางคนกล่าวว่าพระเจ้าชาห์ ชหาน มิได้ประสงค์ที่จะถูกฝังร่วมกับประมเหสี แต่พระองค์มีแผนการที่จะสร้างสุสานอีกแห่งด้วยหินอ่อนสีดำ เพื่อเป็นสุสานของพระองค์ แต่ผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าพระองค์ประสงค์ที่จะถูกฝังเคียงข้างพระนางมุมตัซ มาฮาล
ทัชมาฮาลถูกพิจารณาให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคใหม่ ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในสวนริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ในเมืองอาครา ส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ หลุมศพของพระนางมุมตัซ มาฮาล ซึ่งถูกสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ศิลาแลง ประดับลวดลายเครื่องเพชร พลอย หิน โมราและ เครื่องประดับจากมิตรประเทศ ได้รับคำรับรองว่าสร้างขึ้นด้วยสัดส่วนที่วิจิตรและงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ 100 เมตร สูง 60 เมตร มีผู้สร้างและออกแบบร่วม 20,000 คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง 22 ปี ทัชมาฮาลมีเนื้อที่ประมาณ 42 เอเคอร์ เป็นที่ตั้งของมัสยิด มีหออาซาน (หอสูงสำหรับร้องแจ้งเวลาทำนมาซ) และมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ นายช่างที่ออกแบบ ชื่อ อุสตาด ไอซา ถูกประหารชีวิตเพื่อมิให้ไปออกแบบสถาปัตยกรรมใด ๆ ที่สวยกว่าได้ ส่วนหัวของทัชมาฮาลมีลักษณะโดมที่เรียกว่าโอเนียนโดม

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
ทัชมาฮาลได้ถูกรับเลือกเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยมีเหตุผลตามเกณฑ์การพิจารณาคือ
1.เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด


===> ทัชมาฮัล <===

ถ้า ถามว่า “ความรักคืออะไร“…. อย่าคิดหาคำตอบให้เสียเวลา…เพราะว่าเราจะไม่ได้ความหมายที่แท้จริงเลย คำๆ นี่ไม่มีแม้กระทั่งคำจำกัดความของตัวมันเอง เรารู้แต่เพียงว่า “ความรัก” นั้น สามารถบันดาลให้เกิดขึ้นได้ทุกสิ่งทัชมาฮัล คือตัวอย่างของตำนานแห่ง “ ความรัก” ที่ปราศจากนิยามคำนี้ ผู้ที่สร้างตำนานความรักอันยิ่งใหญ่คือ กษัตริย์ชาห์ญะฮาน กษัตริย์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์โมเลกุล ที่ทรงโปรดให้สร้าง ตาซมะฮัล หรือ ทัชมาฮัลขึ้นเป็นอนุสรณ์แทนความรักที่พระองค์มีต่อมเหสีคือ พระนางมุมตาซ มะฮัล จนสถานที่แห่งนี้กลายเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรักที่งดงามที่สุดในโลก กษัตริย์ชาห์ ญะฮาน ทรงเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ญะฮางงีร์ ทรงประสูติเมื่อปี ค.ศ. 1592 เป็นที่ร่ำลือตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ว่าพระองค์ทรงเป็นเจ้าชายที่ทรงเคร่ง ขรึม ในพระทัยเต็มไปด้วยความทุกข์ระทม ความเป็นคนอมทุกข์ของพระราชโอรสสร้างความหนักพระทัยให้กับพระราชบิดาเป็น อย่างมาก กษัตริย์ญะฮางีร์ ทรงแนะนำให้พระราชโอรสดื่มน้ำจัณฑ์และหาความสำราญพระทัย ด้านต่างๆ มาสู่พระราชโอรส แต่ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ชาห์ ญะฮาน ยังทรงเคร่งขรึมไม่เบิกบานพระทัยเช่นเดิมจนกระทั่งวันหนึ่ง เจ้าชายได้เสด็จประพาสตลาดและได้พบกับสาวน้อยวัย 14 ปี นามว่า อรชุนด์ บาโน เบคุม เป็นบุตรสาวของ อะซีฟ ข่าน เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1592 และมีเชื้อสายเปอร์เซีย เพียงได้เห็นดวงหน้าของนางครั้งแรกเจ้าชายก็เกิดรักแรกพบขึ้นที่ตลาดนั่นเอง 3 ปีให้หลัง พิธิอภิเษกสมรสของเจ้าชายก็ถูกจัดขึ้นในปี ค.ศ. 1612 หลังจากพิธีอภิเษก อรชุนด์ บาโน เบคุม ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า มุมตาซ มะฮัล ซึ่งแปลว่า อัญมณีแห่งปราสาท หลังจากนั้นเป็นต้นมาเจ้าชายก็ทรงเปลี่ยนไป เพราะเบิกบานพระทัยยิ่งนัก อีกทั้งสองพระองค์ก็เป็นคู่รักที่ไม่เคยแยกจากกันเลย ในปี ค.ศ. 1628 เจ้าชายเสด็จขึ้นครองราชบังลังก์ ทรงพระนามว่า กษัตริย์ชาห์ ญะฮาน โดยมีพระนางมุมตาซ มะฮัล เป็นพระมเหสีคู่พระทัย พระนางทรงเป็นทั้งคู่คิดและที่ปรึกษา และ มีส่วนในการช่วยเหลือพระสวามีในการปกครองบ้านเมือง อีกทั้งยังทรงเป็นที่รักใคร่ของพสกนิกรทั่วหล้าพระนางมุมตาซ มะฮัล ทรงให้กำเนิดพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 14 พระองค์ หลังจากทรงให้กำเนิดพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในช่วงปี ค.ศ. 1631 พระนางได้เสด็จร่วมกรีธาทัพกับพระสวามี ณ เมืองเดคข่าน แต่ระหว่างเสด็จกลับพระนครพระนางก็ทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ในที่สุดขบวน เคลื่อนพระศพสู่พระนครนั้น ถูกจัดอย่างเอิกเกริกมโหฬาร ตลอดเส้นทางที่เคลื่อนขบวนมีการโปรยทานแก่คนยากจน เมื่อขบวนเคลื่อนเข้าใกล้กรุงอาครา ผู้ที่อาลัยรักพระนางต่างมาสมทบมากขึ้นจนเป็นขบวนแห่พระศพที่ยิ่งใหญ่มาก กษัตริย์ชาห์ ญะฮาน โปรดให้นำอาหารมาเลี้ยงแก่ประชาชนทั้งหลายอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นการทำบุญอุทิศแก่พระมเหสีอันเป็นที่รักยิ่ง การจากไปอย่างไม่มีวันกลับของพระมเหสีสุดที่รักสร้างความโทมนัสตรอมพระทัย ให้กับกษัตริย์ชาห์ญะฮานเป็นอย่างมาก พระองค์ไม่ทรงเสวยและไม่ทรงพระบรรทม ทรงแต่ฉลองพระองค์ด้วยเครื่องนุ่มห่มสีขาวเป็นการไว้ทุกข์ และทรงเสด็จเยี่ยมหลุมฝังศพของพระนางทุกวันศุกร์ด้วยความอาลัยรักอย่างยิ่ง จึงโปรดให้สร้างอนุสาวรีย์แห่งความรักขึ้นมาอย่างวิจิตรอลังการ และให้ชื่อเรียกว่า ตาซ มะฮัล สร้างอยู่บนพื้นที่ 42 เอเคอร์ ริมฝั่งแม่น้ำยมุนาในการก่อสร้างนั้น กษัตริย์ชาห์ ญะฮาน โปรดให้ระดมช่าง ศิลปิน และสถาปนิกที่ได้ชื่อว่าฝีมือดีเยี่ยมที่สุดจากหลายๆ ที่ ประมาณ 20,000 คน ใช้เวลาการในก่อสร้าง 22 ปี สิ้นค้าใช้จ่ายในการก่อสร้างไปประมาณ 45 ล้านรูปี พระอนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างด้วยศิลาขาวทั้งหมดมีโดมทรงกลมเด่นอยู่ตรงกลาง สูงถึง 72 เมตร บริเวณโดยรอบมีผนังศิลาแลงล้อมรอบ ประตูทางเข้าวางอยู่บนฐานศิลาแลง บริเวณทางเข้ามีสระน้ำหินอ่อนสีขาวรอบทางเดินเป็นสวนดอกไม้นานาพันธุ์ ตำแหน่งที่เป็นที่วางพระศพของพระนางมุมตาซ ทำเป็นแท่นรูปบัวตูม ส่วนหีบพระศพเป็นหินอ่อนสีขาวแกะสลักอย่างงดงาม หลังจากที่เป็นที่สร้างทัชมาฮาลเสร็จแล้ว กษัตริย์ชาห์ ญะฮาน ได้เสด็จมายังสถานที่แห่งนี้เสมอๆ จนกระทั่งในค.ศ. 1658 ก็ทรงล้มป่วย พระราชโอรสองค์ที่ 3 คือ ออรังเซป ก็ตั้งตนขึ้นครองราชบัลลังก์แทน และจับกษัตริย์ชาห์ ญะฮาน พระราชบิดา กักขังไว้จนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1666ก่อนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ระหว่างที่ถูกกักขังอยู่กษัตริย์ชาห์ ญะฮาน เฝ้าแต่นั่งจ้องมองดูกระจกชิ้นเล็กๆ ที่ส่องสะท้อนออกไปเห็นทัชมาฮัล พระองค์สวรรคตพร้อมด้วยกระจกที่กำแน่นอยู่ในพระหัตถ์ และ พระบรมศพของพระองค์ก็ได้ถูกนำไปฝังในทัชมาฮัล เคียงข้างกับพระมเหสีสุดที่รัก ตามพระประสงค์ที่ทรงต้องการจะอยู่เคียงคู่กันตราบชั่วนิจนิรันดร์ ตำนานอันเลื่องลือของความรักที่ปรากฏไปทั่วโลกเรื่องนี้ยังมีเรื่องเล่าใน อีกแง่มุมหนึ่งเกิดขึ้นมาที่ว่ากันว่ากษัตริย์ชาห์ ญะฮาน สร้างทัชมาฮัลขึ้นมาด้วยความเห็นแก่ตัว โดยไม่คิดถึงหลักมนุษยธรรม และทัชมาฮัลก็กลายเป็นที่เกลียดชังของทุกคนเพราะในการสร้างทัชมาฮัล กษัตริย์ชาห์ ญะฮาน ระดมช่างฝีมือดีมาเป็นจำนวนมากและมีกฎว่าต้องสร้างให้เสร็จตามกำหนดเวลา ถ้าสร้างไม่เสร็จก็จะถูกลงโทษ และยังมีเรื่องเล่าอีกว่า เมื่อสร้างทัชมาฮัลเสร็จแล้ว ช่างทุกคนก็ถูกฆ่าตาย จนหมดเพื่อป้องกันไม่ให้ไปสร้างสถานที่ที่งดงามเช่นนี้เลียนแบบไว้ที่ไหนอีก บ้างก็ว่า กษัตริย์ชาห์ ญะฮาน อาจะไม่ได้ตั้งใจที่จะสร้างทัชมาฮัลให้ยิ่งใหญ่เพื่อความรัก แต่มีแผนการที่จะสร้างปราสาทที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก เพื่อสนองความต้องการ – ของตัวเอง และในการสร้างทัชมาฮัลนี้ ทำให้ประเทศอินเดียต้องสูญเสียเงินที่จะมาสร้างความเจริญให้กับประเทศ ไปถึง 250 ปี อย่างไรก็ตาม โลกก็ได้ให้รางวัลสำหรับ – ความยิ่งใหญ่ครั้งนี้ ด้วยการจัดให้ทัชมาฮัล เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตราบมาจนถึงปัจจุบันนี้
 
 
 
 

1 thoughts on “ประวัติทัชมาฮาล

ใส่ความเห็น